อ่านรายละเอียดแบบเต็มได้ที่ http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2010/12/Y10045266/Y10045266.html
การปล่อยปลาไหลและกบ
ธรรมชาติ
ของปลาไหลจะอยู่ตามคูคลอง หนอง บึง ที่เป็นดินขุดรูเป็นที่อยู่
กบก็ต้องขุดรูอยู่ตามท้องนา ผู้ที่ต้องการสร้างกุศลโดยการปล่อยสัตว์นั้น
ควรจะได้พิจารณาด้วยว่า สัตว์นั้น ๆ
จะมีชีวิตรอดอยู่ได้หรือไม่ในสถานที่ที่ตั้งใจจะนำไปปล่อย
การปล่อยเต่า
บางคนนิยมปล่อยเต่า ขอบอกให้รู้ว่าเต่านั้นไม่สามารถจะอยู่ได้ในน้ำไหลและมีคลื่นแรง ข้าพเจ้า(ผู้เขียน) ได้เห็นเป็นประจำ มีผู้นำเต่ามาปล่อยในแม่น้ำหน้าวัด (วัดระฆังฯ) จะมีเด็กที่อยู่ใกล้วัดเดินตามมา เมื่อผู้นั้นปล่อยเต่าลงแม่น้ำแล้ว หันหลังกลับไปสักพักใหญ่ เด็ก ๆ เหล่านั้นก็ลงไปจับเต่าที่ผู้ใจบุญได้ปล่อยไปเมื่อครู่ใหญ่นั้นเอง กลับขึ้นมาอีกธรรมชาติของเต่าจะต้องอยู่ในน้ำนิ่งและมีที่แห้งให้เขาสามารถ ขึ้นมาพักผ่อนได้ (ลองไปเที่ยวดูได้ในเขาดิน) เต่าเมื่อถูกกระแสน้ำและคลื่นแรงก็อยากจะขึ้นบก จึงมาลอยคอกันอยู่ริมเขื่อน เด็ก ๆ รู้เรื่องนี้ดี ก็มาคอยจับกัน
เต่านา (เต่าสามสัน) สัตว์เลื้อยคลาน
มี ขนาดเล็ก กระดองสีน้ำตาลอ่อน หัวดำมีลายสีขาวเป็นเส้นใหญ่ มีลายสีขาวที่แก้ม ลายเส้นขาวใหญ่นี้เป็นจุดเด่นของเต่าชนิดนี้ และขามีสีเทาดำ เป็นเต่าที่ไม่ชอบกินพืชผัก แต่ชอบกินหอย ปู กุ้ง แมลงต่างๆ และปลาเล็กๆ เป็นเต่าขี้ตื่นกลัว ไม่ชอบคน ถ้าเห็นคนจะหยุดนิ่งไม่กระดุกกระดิก หดหัวอยู่ในกระดอง มักพบอาศัยอยู่ตามท้องนา และแม่น้ำลำคลองที่มีโคลนตม หรืออยู่ตามห้วยหนองบึงทั่วไป ลำบากแน่! หากเขาอยู่ในที่ที่มีน้ำลึก ตลิ่งสูง
เต่าหับ สัตว์เลื้อยคลาน
เป็นเต่าที่กระดองล่างแบ่ง
กลางออกเป็นสองส่วน ปิดได้ทั้งด้านหน้าและหลัง
เป็นเต่าชนิดเดียวที่เก็บหัวหาง แขนขา ไว้ในกระดองได้หมด
เมื่อมองจากด้านท้องจะไม่เห็นส่วนอื่นใดยื่นออกมา พบมากแถวภาคกลางและภาคใต้
เต่าหับกินพืช ผัก ผลไม้ ปลา หอย ปู กุ้ง
ชอบอาศัยอยู่บนบกมากกว่าอยู่ในน้ำ ชอบหมกตัวอยู่ตามกอหญ้า ผสมพันธุ์ในน้ำ
แต่วางไข่บนบก ปีหนึ่งวางไข่หลายครั้ง ทว่าวางไข่ครั้งละ 2-3 ฟองเท่านั้น
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช
2535
เต่าดำ (เต่าแก้มขาว) สัตว์เลื้อยคลาน เป็นเต่าขนาดเล็ก
ตัวแบน กระดองดำ หัว หาง และขาดำ มีแต้มขาวเหนือตา แก้ม
และตามใบหน้าอีกหลายแห่ง ชอบกินกินหอย กุ้ง ผัก และเมล็ดพืชเป็นอาหาร
ชอบกบดานหรือหากินตามพื้นดินโคลนใต้น้ำ นาน ๆ จึงโผล่ขึ้นมาสักครั้ง
ดังนั้นเวลาพบจึงเห็นตัวสกปรกเลอะโคลนอยู่เสมอ จะขึ้นบกเวลากลางคืน
เพื่อต้องการหาทำเลวางไข่ หรือผสมพันธุ์ หรือย้ายที่ทำมาหากิน
ส่วนกลางวันมักหมกตัวอยู่ในที่รก ชื้นแฉะ หรือตามโคลนใต้พื้นน้ำ
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช
2535
ปลานิล
ปลานิลมีนิสัยชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงตามแม่น้ำ
ลำคลอง หนอง บึง และทะเลสาบ เป็นปลาที่อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย
มีความอดทน และสามารถปรับปรุงตัวให้เข้ากับธรรมชาติได้ง่าย
เหมาะสมที่จะนำมาเลี้ยงในบ่อได้เป็นอย่างดี เป็นปลาที่กินอาหารได้ทุกชนิด
โดยเฉพาะพวกอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อ เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ
ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์เล็ก ๆ ควรอยู่ในระดับของน้ำควรลึกประมาณ1 เมตร
ไม่ควรมีวัชพืช เช่น ผักตบชวา จอก บัว และหญ้าต่าง ๆ
เพราะวัชพืชเหล่านี้จะปกคลุมผิวน้ำเป็นอุปสรรคต่อการ หมุนเวียนของอากาศ
ซ้ำยังจะเป็นที่หลบซ่อนอยู่อาศัยของศัตรูที่เป็นอันต รายต่อปลานิล
ถ้ามีขนาดเล็กเกินไปจะกลายเป็นอาหารของปลาใหญ่
ปลาสวาย
เป็นปลา
น้ำจืดที่ไม่มีเกล็ด ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ลักษณะลำตัวยาว
มีสันหลังค่อนข้างตรง ส่วนหน้าจะลาดไปถึงบริเวณปาก หน้าทู่ปากกว้างมีหนวด 2
คู่ ลำตัวมีสีนวลขาว ปลาสวายขนาดเล็กจะมีแถบสีดำคาดลำตัว
พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงนครสวรรค์ และแม่น้ำโขง ชอบกินพันธุ์ไม้น้ำ
ลูกหอย หนอน ไส้เดือน รักสงบ ตื่นตกใจง่าย
ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงในที่ร่มใกล้พันธุ์ไม้น้ำ เลี้ยงง่าย โตเร็ว
แต่ถ้ามีขนาดเล็กเกินไปจะกลายเป็นอาหารของปลาใหญ่
ปลาหมอไทย
รูปร่างป้อม ลำตัวด้านข้างแบน หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่
นัยน์ตาค่อนข้างเล็กอยู่ใกล้กับปลายจมูก
กระดูกขอบกระพุ้งเหงือกหยักเป็นฟันเลื่อยแหลมและแข็ง ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า
เหงือกปลาหมอ อวัยวะส่วนนี้ใช้สำหรับการเคลื่อนไหวไปบนบก ครีบหลังยาว
ลำตัวมีสีน้ำตาลปนเหลือง ด้านท้องสีจะจางกว่า
มีอวัยวะช่วยหายใจในปากทำใหัสามารถอยู่บนบกได้นานๆ
พบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ชอบกินลูกปลา ลูกกุ้ง แมลง และซากสัตว์
แต่ถ้ามีขนาดเล็กเกินไปจะกลายเป็นอาหารของปลาใหญ่
ปลาไหลนา
ปลาไหลนาสามารถเจริญเติบโตได้ดีใน แหล่งน้ำทั่วไป ฤดูแล้งจะขุดรูดิน
ออกหากินในเวลากลางคืน เป็นปลาที่สามารถ เปลี่ยนเพศได้
โดยช่วงแรกจะเป็นเพศเมีย และจะกลายเป็นเพศผู้เมื่อโตขึ้น
จัดเป็นพวกปลากินเนื้อ (carnivorous) กินอาหารที่มีสภาพสดจนถึงเน่าเปื่อย
ตัวหนอน ตัวอ่อนแมลง หอย ไส้เดือน และสัตว์หน้าดินต่าง ๆ
มีนิสัยรวมกลุ่มกันกินอาหาร ควรระมัดระวังในเรื่องการลำเลียง
ไม่ควรให้หนาแน่นมากเกินไปปลาจะบอบช้ำ
ถ้ามีขนาดต่างกันมากเกินไปจะกินกันเอง ชอบอยู่ในที่ร่มมากกว่ากลางแดด
ปัจจุบันปลาไหลที่ขายอยู่ทั่วไปมาจากเขมร พม่า
ซึ่งกำลังส่งผลในเรื่องการรุกล้ำสายพันธุ์
ปลาไน
อาศัยอยู่ตาม
แม่น้ำ ลำคลอง ที่มีพื้นเป็นดินโคลน กระแสน้ำไหลอ่อนเกือบจะนิ่ง
ชอบอยู่ในน้ำอุ่นมากกว่าในน้ำเย็น ชอบน้ำสะอาดแต่ไม่ใสหรือขุ่นจนเกินไป
ชอบวางไข่ในที่ตื้น ถ้าอยู่ในสภาพแออัดเกินไปจะทไห้อ่อนเพลียไม่กินอาหาร
ตื่นตกใจง่ายอาจถึงตายได้ ศัตรูของปลาไน ได้แก่
ปลาจำพวกที่กินเนื้อเป็นอาหาร เช่น ปลาชะโด ปลาช่อน ปลาบู่ ปลาเทโพ พวกกบ
เขียด เต่า ตะพาบน้ำ :-) นาก และนก เนื่องจากปลาไนเป็นปลาที่มีนิสัยขลาด
ตื่นตกใจง่าย หากจับปลาออกจากบ่อเลี้ยงแล้วรีบลำเลียงไปส่งตลาด
ปลาอาจตกใจตายได้ง่าย
อาหาร
- เศษผัก ผักบุ้ง ผักกาดขาว และเศษผักต่าง ๆ ใช้ต้มให้เปื่อยผสมกับรำหรือปลายข้าว
- กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง
-
ส่วนอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ หรือสัตว์ที่มีชีวิต เช่น ตัวไหม ปลวก ไส้เดือน
หนอน มด ฯลฯ ใช้โปรยให้กิน พวกเครื่องในและเลือดของพวกสัตว์ต่างๆ เช่น หมู
วัว ควาย
วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ปล่อยปลา ปล่อยเต่า ที่ไหนดี???
ก่อนที่ข้าพเจ้าจะเริ่มต้นที่จะไถ่ชีวิตสัตว์เป็นทาน เช่น ปล่อยเต่า ปล่อยปลาในทุกสัปดาห์ ก็ยังไม่รู้ว่ามีที่แห่งใดที่เหมาะสมบ้าง จึงได้ศึกษาข้อมูลจากเว็บ และนำมารวบรวมไว้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อช่วยในการตัดสินใจ...
--------------------------------------------------------------------------------------------
ที่ๆเหมาะกับการปล่อยปลา-เต่า ลองปล่อยใน สวนสาธารณะ ดูนะ เพราะมันสงบ เช่น สวนเบญจสิริ ถนนสุขุมวิท หรือสวนสิรินธร แถวรามคำแหง(บางนา) หรือสวนหลวงร.๙ก็ได้ เจ้าหน้าที่เค้าอนุญาติ
--------------------------------------------------------------------------------------------
ถ้าปล่อยปลาไปปล่อยที่ โรงงานยาสูบ ติดกับศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ มีปลามากมาย มีอาหารปลาขายให้คนไปเลี้ยงปลา
เต่าก็ปล่อยได้นะครับ เพราะเห็นมีเต่าเหมือนกัน แต่ถ้าไม่แน่ใจในการปล่อยเต่า ก็ไปปล่อยที่ สวนลุมพินี ที่นี่เต่าเยอะเป็นบ่อเล็กระยะยาว เต่าเกาะก้อนหินเรียงรายเต็มไปหมด
และอีกที่ๆเหมาะปล่อยปลาคือ สวนรถไฟ จตุจักร แถวๆอาคารป.ต.ท ที่นี่มีบ่อใหญ่ เหมาะกับการปล่อยปลา
โชคดีครับ ปล่อยปลาควรปล่อยให้เขามีทางไป หรือว่าปล่อยในน้ำที่มีทางไปไหนได้ไกลๆ หรือหากเป็นบึงบ่อก็ต้องกว้างมากพอที่จะอิสระไม่โดนจับง่าย ส่วนเเม่น้ำหรือบึงน้ำยังไงๆก็มีคนไปตกไปจับบ้างต้องอุเบกขา เเต่ไม่เอาเเบบปล่อยหลังวัดเเล้วถัดไปมียกยอเห็นๆ
--------------------------------------------------------------------------------------------
- ปล่อยปลา -
...ซื้อที่ตลาดบางกะปิ..เเละปล่อยที่ บึงน้ำการเคหะบางกะปิ..หรือวัดที่ขับเลยนิด้าเเล้วยูเทิร์นก็ถึงเลย. ...หรือไปซื้อที่ตลาดอย่างตลาดมีนบุรีเเล้วปล่อยที่วัดเเถวนั้น เช่น นิมิตใหม่หรือวัดริมคลองเเสนเเสบ เช่น วัดบางเพ็ง(สุขาฯ2) วัดบำเพ็ญ(สุขาฯ3) เเต่อย่างวัดศรีบุญเรืองนั้นเป็นท่าเรือคงพลุกพล่านไป
>>> ส่วนปล่อยเต่านั้น
ควรรู้ลักษณะเต่าบกกับเต่าน้ำ เพราะเต่าบกหากปล่อยลงน้ำโดยเฉพาะคลองที่ไม่มีตลิ่งดินจะจมน้ำตาย เต่าบกมักกระดวงคุ้มๆสูงๆหน่อยเเบบหมวกทหาร มือไม่เป็นพืดให้ว่ายน้ำเเต่จะเป็นนิ้วมีเล็บ เเละตรงบริเวณก้นจะมีเดือยแหลมอยู่จำนวนมาก เป็นต้น ผมว่าปล่อยเต่าไปปล่อยไกลๆ เช่น ทุ่งข้างถนนเเถวมีนบุรี หรือสามวา สุวินท์วงศ์ หรือทุ่งข้างถนนเลียบวงเเหวนตะวันออกหรือมอเตอร์เวย์ ก็น่าจะพอจะไปรอดหน่อย ที่ซื้อก็ตลาดมีนบุรี หรือไม่เเน่ตลาดบางกะปิอาจมี
ปลาไหล
จริงๆปลาไหล มีชีวิตอยู่กับดินโคลน น้ำน้อยๆ หรือบึง ดังนั้นครั้งต่อไปใครคิดจะปล่อยปลาไหลคิดสักนิดว่า ควรจะนำไปปล่อยที่ไหนดี อาจเป็นทุ่งนา บ่อโคลน เพราะปลาไหลชอบขุดรูอยู่ โดยเฉพาะหน้าแล้ง ปลาไหลที่เรานำมาปล่อยกันทุกวันนี้ เป็นปลาไหลมาจากประเทศกัมพูชา ซึ่งกว่าจะขนส่งนำมาขายให้กับเรา (เขาทำกันเป็นธุรกิจ) ก็ใช้เวลาหลายวัน และไม่ได้กินอาหาร เพระคนขายบอกว่า "ไม่รู้ว่าจะให้อาหารอะไรมันกิน" คุณลองคิดดูว่า มันอดอาหารกี่วัน ซึ่งจริง ๆ แล้วมันกินพวกซากสัตว์เปื่อย ๆ ยิ่งใครที่มีงบน้อยก็จะซื้อที่ตัวเล็ก เพราะตัวละแค่สิบบาท ปล่อยตามจำนวนกำลังวันเกิดตามที่แม่ค้าบอก เมื่อลงไปแม่น้ำอย่างนั้น คงจะรอดได้ยาก ยิ่งถ้าเอาปลาตัวเล็ก ๆ ไปปล่อยในที่มีปลาสวายตัวโตว่ายอยู่ ก็เหมือนส่งอาหารไปให้เจ้าปลาตัวโตพวกนั้น
เต่า
1. เต่านั้นเป็นเต่าบกหรือเต่าน้ำ เต่าบก ที่เท้าจะคล้ายๆเท้าช้าง ขายาว กระดองรูปร่างนูนขึ้นมากกว่าเต่าน้ำ เต่าน้ำ เท้าจะแบน ขาสั้น เอาไว้ว่ายน้ำ ถ้าปล่อยเต่าบกลงน้ำเต่าจะจมน้ำตาย เพราะเต่าหายใจด้วยปอดเหมือนมนุษย์ เต่าบกอยู่น้ำได้แค่แป๊ปเดียว ไม่กี่นาทีก็ต้องหาที่เกาะแล้ว
2 สถานที่ปล่อย จะต้องเป็นบริเวณที่มีตลิ่ง เพื่อให้เต่าขึ้นมาพักผึ่งแดดได้ และน้ำไม่ไหลเชี่ยวจนเกินไป เพราะ เต่าต้องการพักหายใจ และพักเหนื่อย เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ไม่ใช้สัตว์น้ำ จึงว่ายน้ำตลอดเวลาเหมือนปลาไม่ได้ เต่าต้องการผึ่งแดด เพื่อให้ปลิงที่ติดอยู่ตามตัวหลุดออก มิฉะนั้นเต่าจะป่วยได้ และเต่าต้องอาศัยแสงแดดในการสร้างวิตามินที่จำเป็นสำหรับร่างกาย
ดังนั้นการปล่อยเต่าน้ำลงในบริเวณที่ๆไม่มีตลิ่งให้เต่าขึ้นมาผึ่งแดด เช่น ตามคลองประปา , บ่อน้ำในวัดที่มีการก่อคอนกรีดเป็นบล็อกสูงๆ ( บ่อในวัดบวรฯ ที่หมอหนิ่งไปช่วยมา ) คือการทำร้ายเต่าอย่างทารุนโหดร้ายมากๆ สภาพน้ำบริเวณที่จะปล่อย ต้องไม่สกปรก ถ่ายเทยาก และแออัด เช่น บ่อน้ำในวัดบวรฯ มีเต่าหลายตัวที่ชมรมรักษ์เต่า ได้ช่วยชีวิตขึ้นมาจากในวัดบวรฯ หลายตัวติดเชื้ออย่างรุนแรง กระดองแตก กระดองเปื่อยยุ่ยจนลึกเข้าไปถึงกระดูกเต่าชั้นใน (กระดองเป็นกระดูกเต่าชั้นนอก)
กบ
กบจะคล้าย ๆ กับเต่า คือเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ชอบอยู่ในที่ชื้นแฉะ ดังนั้น ไม่ควรปล่อยแม่น้ำ หาที่นา บึงหรือคลองที่มีตลิ่ง เนินดิน ขอนไม้ให้เกาะจะดีกว่า เพราะมันจะหาทางกระโดดขึ้นมา
หอยขม
เป็นสัตว์ยอดฮิตที่หมอดูทั้งหลายให้ปล่อย ปกติหอยขมเป็นสัตว์ที่ตายยาก ปล่อยที่ไหนก็ได้ที่น้ำไม่แรงมาก ยิ่งถ้ามีที่เกาะตามพวกตลิ่ง หรือเสาตามท่าน้ำก็ยิ่งดี ที่ต้องระวังคือ การก็ซื้อตรงนั้น ปล่อยตรงนั้น รับรองได้กลับมาเป็นหอยเวียนแต่ พอคุณปล่อยปุ๊ป มีคนมางมกลับไปทันทีเลย (คนปล่อยชอกช้ำระกำทรวง) ไม่เชื่อลองไปดูหน้าวัดระฆัง จะมีเด็ก ๆ ว่ายน้ำเก็บหอยกัน หรือแถวเทเวศน์ ปลาดุก ปลาช่อน จะให้ดีก็ควรเลือกที่ยังแข็งแรง ตัวโตพอที่จะไปสู้ชีวิตไหว
ปกติควรไปปล่อยในลำคลองที่มีน้ำไหลไม่แรงมาก และไม่สกปรก น้ำสะอาด ปลาที่ห้ามปล่อยเด็ดขาด คือปลาซัคเกอร์ หรือตามร้านเรียก ปลาราหู ตัวดำ ๆ เนื่องจากเป็นปลาที่กินทุกอย่าง และทำให้ระบบนิเวศเสีย มันจะทำให้ปลาอื่นสูญพันธ์
--------------------------------------------------------------------------------------------
เคยไปซื้อปลา และกบจากตลาดบางกะปิ ไปปล่อยที่ สวนสาธารณะเขตบึงกุ่ม ค่ะ ก็เป็นเขตอภัยทานเช่นกันค่ะ
--------------------------------------------------------------------------------------------
อย่าไปซื้อเต่าที่วัดนะคะ..บาปมาก
..หากต้องการปล่อยเต่าจริงๆควรปล่อยกับโครงการอนุรักษ์เต่าดีกว่า..เขาจะไปเอาเต่าที่พวกมักง่ายแต่อยากได้บุญ..ตามวัดและสวนสาธารณะไปรักษาก่อน..จึงนำไปปล่อยตามแหล่งน้ำธรรมชาติคือ..ห้วยองคต..จ.กาณจนบุรี
..ร่วมโครงการง่ายมากจะร่วมบริจาคเงินเพื่อซื้อเต่าจากในวัดหรือค่ายาฯลฯ..ตามกำลังศัทรา..หรือจะไปปล่อยเต่ากะโครงการที่กาณจนบุรีก็ได้..ง่ายกว่าเราไปหาซื้อเต่าเองอีก..ง่ายกว่าหาแหล่งปล่อยเต่าอีก..แถมยังสามารถช่วยยุติวงจรอุบาทว์ที่พ่อค้าแม่ค้าไปจับเต่ามาขายในวัดแล้วเราไปซื้อมาปล่อยต่อนี่..เราก็บาปอีก
..อีกอย่างปล่อยที่ห้วยองคตไม่มีใครมาจับเต่าได้..เพราะเป็นของในหลวงเอาไว้อนุรักษ์เต่าเท่านั้น....อันนี้ได้อานิสงค์ผลบุญจริงและได้มากด้วย...เข้าไปดูได้ที่..ชมรมรักษ์เต่า
--------------------------------------------------------------------------------------------
ขออนุญาตเล่าประสบการณ์นะครับ (พระเล่าให้ฟัง) ท่านบอกว่า คนส่วนใหญ่ชอบเอาปลามาปล่อยในเขตวัด แต่ลืมพิจารณาว่า บ่อน้ำ หรือ เขตอภัยทานของวัดนั้นมีพื้นที่มากน้อยเพียงใด บางวัดมีพื้นที่ไม่มาก การปล่อยปลาจำนวนมากลงไป ก็จะทำให้ปลามีความเป็นอยู่อย่างแออัด ประกอบกับพื้นที่ของบางวัดไม่ใช่เขตที่น้ำไหลผ่าน ทำให้น้ำในบ่อเน่าเสีย เพราะประชากรปลามีเป็นจำนวนมาก
ดังนั้น เราก็ต้องพิจารณาด้วยครับว่า เป็นเช่นไรครับ
สำหรับการที่ผมปล่อยใน คลองประปา นั้น เนื่องจากเป็นที่น้ำไหล และเป็นคลองที่มีความกว้างพอสมควร มีดินให้ปลาไหลหรือปลาช่อนมุดเพื่ออาศัยอยู่ และส่วนใหญ่เขาจะห้ามจับสัตว์น้ำครับ (แต่ก็มีคนแอบจับอยู่บ้าง) สำหรับปลานั้น ถ้าเราปล่อยแล้ว ก็ถือว่าตัดเคราะห์ให้ปลาแล้ว แต่เจ้ากรรมปลาชุดใหม่จะเข้ามา ดังนั้นเราต้องวางกำลังใจให้ถูกครับ เพราะกฎแห่งกรรมมีจริงครับ ผมเชื่อว่า ไม่จำเป็นต้องปล่อยในเขตอภัยทานอย่างเดียวครับ ปล่อยที่ไหนก็ได้ที่เราคิดว่าเหมาะสม และปลาจะมีชีวิตอย่างมีความสุขครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------
แนะนำ พุทธมณฑล ค่ะ ถ้าคนมีรถก็ขับไปไม่ไกลนะ ถ้าไม่มีรถ ก็นั่งรถตู้พาต้า-หมู่บ้านสินสมบูรณ์ จอดอยู่ตรง 7-11 (ที่เมื่อก่อนเป็น KFC อะค่ะ) รถตู้จะเข้าเส้นสายสี่ นั่งไปลงหน้าพุทธมณฑลเลยค่ะ ตอนกลับก็รอรถตู่หน้าพุทธมณฑล หรือไม่ก็ขึ้นรถเมล์สาย 170 ก็ได้ มาแถวปิ่นเกล้า รถเมล์สายอื่นก็มีค่ะ
ข้างในพุทธมณฑลมีเขตอภัยทาน มีหลายบ่อ หลายสระ หลายแบบ หรือจะปล่อยข้างหน้าพุทธมณฑลก็ได้ค่ะ แต่ไม่แน่ใจว่าข้างหน้าอะ เขตอภัยทานรึเปล่านะ
บางวัดก็จะห้ามปล่อยปลาบางชนิดด้วยนะคะ เช่น วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี จะห้ามปล่อยปลาดุก แต่ก็ยังมีคนแอบเอามาปล่อยเรื่อยๆ เหตุผลคือ ปลาดุกเป็นปลาที่ชอบขุดรูตามตลิ่ง จะทำให้ตลิ่งพัง หรือดินรอบบ่อจะทรุดตัวง่าย
ถ้าใครสะดวกก็ไปปล่อยที่ ท่าน้ำนนท์ ก็ได้ เพราะเขาประกาศห้ามตกปลาหรือห้ามจับสัตว์น้ำด้วยค่ะ
--------------------------------------------------------------------------------------------
ที่ๆเหมาะกับการปล่อยปลา-เต่า ลองปล่อยใน สวนสาธารณะ ดูนะ เพราะมันสงบ เช่น สวนเบญจสิริ ถนนสุขุมวิท หรือสวนสิรินธร แถวรามคำแหง(บางนา) หรือสวนหลวงร.๙ก็ได้ เจ้าหน้าที่เค้าอนุญาติ
--------------------------------------------------------------------------------------------
ถ้าปล่อยปลาไปปล่อยที่ โรงงานยาสูบ ติดกับศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ มีปลามากมาย มีอาหารปลาขายให้คนไปเลี้ยงปลา
เต่าก็ปล่อยได้นะครับ เพราะเห็นมีเต่าเหมือนกัน แต่ถ้าไม่แน่ใจในการปล่อยเต่า ก็ไปปล่อยที่ สวนลุมพินี ที่นี่เต่าเยอะเป็นบ่อเล็กระยะยาว เต่าเกาะก้อนหินเรียงรายเต็มไปหมด
และอีกที่ๆเหมาะปล่อยปลาคือ สวนรถไฟ จตุจักร แถวๆอาคารป.ต.ท ที่นี่มีบ่อใหญ่ เหมาะกับการปล่อยปลา
โชคดีครับ ปล่อยปลาควรปล่อยให้เขามีทางไป หรือว่าปล่อยในน้ำที่มีทางไปไหนได้ไกลๆ หรือหากเป็นบึงบ่อก็ต้องกว้างมากพอที่จะอิสระไม่โดนจับง่าย ส่วนเเม่น้ำหรือบึงน้ำยังไงๆก็มีคนไปตกไปจับบ้างต้องอุเบกขา เเต่ไม่เอาเเบบปล่อยหลังวัดเเล้วถัดไปมียกยอเห็นๆ
--------------------------------------------------------------------------------------------
- ปล่อยปลา -
...ซื้อที่ตลาดบางกะปิ..เเละปล่อยที่ บึงน้ำการเคหะบางกะปิ..หรือวัดที่ขับเลยนิด้าเเล้วยูเทิร์นก็ถึงเลย. ...หรือไปซื้อที่ตลาดอย่างตลาดมีนบุรีเเล้วปล่อยที่วัดเเถวนั้น เช่น นิมิตใหม่หรือวัดริมคลองเเสนเเสบ เช่น วัดบางเพ็ง(สุขาฯ2) วัดบำเพ็ญ(สุขาฯ3) เเต่อย่างวัดศรีบุญเรืองนั้นเป็นท่าเรือคงพลุกพล่านไป
>>> ส่วนปล่อยเต่านั้น
ควรรู้ลักษณะเต่าบกกับเต่าน้ำ เพราะเต่าบกหากปล่อยลงน้ำโดยเฉพาะคลองที่ไม่มีตลิ่งดินจะจมน้ำตาย เต่าบกมักกระดวงคุ้มๆสูงๆหน่อยเเบบหมวกทหาร มือไม่เป็นพืดให้ว่ายน้ำเเต่จะเป็นนิ้วมีเล็บ เเละตรงบริเวณก้นจะมีเดือยแหลมอยู่จำนวนมาก เป็นต้น ผมว่าปล่อยเต่าไปปล่อยไกลๆ เช่น ทุ่งข้างถนนเเถวมีนบุรี หรือสามวา สุวินท์วงศ์ หรือทุ่งข้างถนนเลียบวงเเหวนตะวันออกหรือมอเตอร์เวย์ ก็น่าจะพอจะไปรอดหน่อย ที่ซื้อก็ตลาดมีนบุรี หรือไม่เเน่ตลาดบางกะปิอาจมี
ปลาไหล
จริงๆปลาไหล มีชีวิตอยู่กับดินโคลน น้ำน้อยๆ หรือบึง ดังนั้นครั้งต่อไปใครคิดจะปล่อยปลาไหลคิดสักนิดว่า ควรจะนำไปปล่อยที่ไหนดี อาจเป็นทุ่งนา บ่อโคลน เพราะปลาไหลชอบขุดรูอยู่ โดยเฉพาะหน้าแล้ง ปลาไหลที่เรานำมาปล่อยกันทุกวันนี้ เป็นปลาไหลมาจากประเทศกัมพูชา ซึ่งกว่าจะขนส่งนำมาขายให้กับเรา (เขาทำกันเป็นธุรกิจ) ก็ใช้เวลาหลายวัน และไม่ได้กินอาหาร เพระคนขายบอกว่า "ไม่รู้ว่าจะให้อาหารอะไรมันกิน" คุณลองคิดดูว่า มันอดอาหารกี่วัน ซึ่งจริง ๆ แล้วมันกินพวกซากสัตว์เปื่อย ๆ ยิ่งใครที่มีงบน้อยก็จะซื้อที่ตัวเล็ก เพราะตัวละแค่สิบบาท ปล่อยตามจำนวนกำลังวันเกิดตามที่แม่ค้าบอก เมื่อลงไปแม่น้ำอย่างนั้น คงจะรอดได้ยาก ยิ่งถ้าเอาปลาตัวเล็ก ๆ ไปปล่อยในที่มีปลาสวายตัวโตว่ายอยู่ ก็เหมือนส่งอาหารไปให้เจ้าปลาตัวโตพวกนั้น
เต่า
1. เต่านั้นเป็นเต่าบกหรือเต่าน้ำ เต่าบก ที่เท้าจะคล้ายๆเท้าช้าง ขายาว กระดองรูปร่างนูนขึ้นมากกว่าเต่าน้ำ เต่าน้ำ เท้าจะแบน ขาสั้น เอาไว้ว่ายน้ำ ถ้าปล่อยเต่าบกลงน้ำเต่าจะจมน้ำตาย เพราะเต่าหายใจด้วยปอดเหมือนมนุษย์ เต่าบกอยู่น้ำได้แค่แป๊ปเดียว ไม่กี่นาทีก็ต้องหาที่เกาะแล้ว
2 สถานที่ปล่อย จะต้องเป็นบริเวณที่มีตลิ่ง เพื่อให้เต่าขึ้นมาพักผึ่งแดดได้ และน้ำไม่ไหลเชี่ยวจนเกินไป เพราะ เต่าต้องการพักหายใจ และพักเหนื่อย เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ไม่ใช้สัตว์น้ำ จึงว่ายน้ำตลอดเวลาเหมือนปลาไม่ได้ เต่าต้องการผึ่งแดด เพื่อให้ปลิงที่ติดอยู่ตามตัวหลุดออก มิฉะนั้นเต่าจะป่วยได้ และเต่าต้องอาศัยแสงแดดในการสร้างวิตามินที่จำเป็นสำหรับร่างกาย
ดังนั้นการปล่อยเต่าน้ำลงในบริเวณที่ๆไม่มีตลิ่งให้เต่าขึ้นมาผึ่งแดด เช่น ตามคลองประปา , บ่อน้ำในวัดที่มีการก่อคอนกรีดเป็นบล็อกสูงๆ ( บ่อในวัดบวรฯ ที่หมอหนิ่งไปช่วยมา ) คือการทำร้ายเต่าอย่างทารุนโหดร้ายมากๆ สภาพน้ำบริเวณที่จะปล่อย ต้องไม่สกปรก ถ่ายเทยาก และแออัด เช่น บ่อน้ำในวัดบวรฯ มีเต่าหลายตัวที่ชมรมรักษ์เต่า ได้ช่วยชีวิตขึ้นมาจากในวัดบวรฯ หลายตัวติดเชื้ออย่างรุนแรง กระดองแตก กระดองเปื่อยยุ่ยจนลึกเข้าไปถึงกระดูกเต่าชั้นใน (กระดองเป็นกระดูกเต่าชั้นนอก)
กบ
กบจะคล้าย ๆ กับเต่า คือเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ชอบอยู่ในที่ชื้นแฉะ ดังนั้น ไม่ควรปล่อยแม่น้ำ หาที่นา บึงหรือคลองที่มีตลิ่ง เนินดิน ขอนไม้ให้เกาะจะดีกว่า เพราะมันจะหาทางกระโดดขึ้นมา
หอยขม
เป็นสัตว์ยอดฮิตที่หมอดูทั้งหลายให้ปล่อย ปกติหอยขมเป็นสัตว์ที่ตายยาก ปล่อยที่ไหนก็ได้ที่น้ำไม่แรงมาก ยิ่งถ้ามีที่เกาะตามพวกตลิ่ง หรือเสาตามท่าน้ำก็ยิ่งดี ที่ต้องระวังคือ การก็ซื้อตรงนั้น ปล่อยตรงนั้น รับรองได้กลับมาเป็นหอยเวียนแต่ พอคุณปล่อยปุ๊ป มีคนมางมกลับไปทันทีเลย (คนปล่อยชอกช้ำระกำทรวง) ไม่เชื่อลองไปดูหน้าวัดระฆัง จะมีเด็ก ๆ ว่ายน้ำเก็บหอยกัน หรือแถวเทเวศน์ ปลาดุก ปลาช่อน จะให้ดีก็ควรเลือกที่ยังแข็งแรง ตัวโตพอที่จะไปสู้ชีวิตไหว
ปกติควรไปปล่อยในลำคลองที่มีน้ำไหลไม่แรงมาก และไม่สกปรก น้ำสะอาด ปลาที่ห้ามปล่อยเด็ดขาด คือปลาซัคเกอร์ หรือตามร้านเรียก ปลาราหู ตัวดำ ๆ เนื่องจากเป็นปลาที่กินทุกอย่าง และทำให้ระบบนิเวศเสีย มันจะทำให้ปลาอื่นสูญพันธ์
--------------------------------------------------------------------------------------------
เคยไปซื้อปลา และกบจากตลาดบางกะปิ ไปปล่อยที่ สวนสาธารณะเขตบึงกุ่ม ค่ะ ก็เป็นเขตอภัยทานเช่นกันค่ะ
--------------------------------------------------------------------------------------------
อย่าไปซื้อเต่าที่วัดนะคะ..บาปมาก
..หากต้องการปล่อยเต่าจริงๆควรปล่อยกับโครงการอนุรักษ์เต่าดีกว่า..เขาจะไปเอาเต่าที่พวกมักง่ายแต่อยากได้บุญ..ตามวัดและสวนสาธารณะไปรักษาก่อน..จึงนำไปปล่อยตามแหล่งน้ำธรรมชาติคือ..ห้วยองคต..จ.กาณจนบุรี
..ร่วมโครงการง่ายมากจะร่วมบริจาคเงินเพื่อซื้อเต่าจากในวัดหรือค่ายาฯลฯ..ตามกำลังศัทรา..หรือจะไปปล่อยเต่ากะโครงการที่กาณจนบุรีก็ได้..ง่ายกว่าเราไปหาซื้อเต่าเองอีก..ง่ายกว่าหาแหล่งปล่อยเต่าอีก..แถมยังสามารถช่วยยุติวงจรอุบาทว์ที่พ่อค้าแม่ค้าไปจับเต่ามาขายในวัดแล้วเราไปซื้อมาปล่อยต่อนี่..เราก็บาปอีก
..อีกอย่างปล่อยที่ห้วยองคตไม่มีใครมาจับเต่าได้..เพราะเป็นของในหลวงเอาไว้อนุรักษ์เต่าเท่านั้น....อันนี้ได้อานิสงค์ผลบุญจริงและได้มากด้วย...เข้าไปดูได้ที่..ชมรมรักษ์เต่า
--------------------------------------------------------------------------------------------
ขออนุญาตเล่าประสบการณ์นะครับ (พระเล่าให้ฟัง) ท่านบอกว่า คนส่วนใหญ่ชอบเอาปลามาปล่อยในเขตวัด แต่ลืมพิจารณาว่า บ่อน้ำ หรือ เขตอภัยทานของวัดนั้นมีพื้นที่มากน้อยเพียงใด บางวัดมีพื้นที่ไม่มาก การปล่อยปลาจำนวนมากลงไป ก็จะทำให้ปลามีความเป็นอยู่อย่างแออัด ประกอบกับพื้นที่ของบางวัดไม่ใช่เขตที่น้ำไหลผ่าน ทำให้น้ำในบ่อเน่าเสีย เพราะประชากรปลามีเป็นจำนวนมาก
ดังนั้น เราก็ต้องพิจารณาด้วยครับว่า เป็นเช่นไรครับ
สำหรับการที่ผมปล่อยใน คลองประปา นั้น เนื่องจากเป็นที่น้ำไหล และเป็นคลองที่มีความกว้างพอสมควร มีดินให้ปลาไหลหรือปลาช่อนมุดเพื่ออาศัยอยู่ และส่วนใหญ่เขาจะห้ามจับสัตว์น้ำครับ (แต่ก็มีคนแอบจับอยู่บ้าง) สำหรับปลานั้น ถ้าเราปล่อยแล้ว ก็ถือว่าตัดเคราะห์ให้ปลาแล้ว แต่เจ้ากรรมปลาชุดใหม่จะเข้ามา ดังนั้นเราต้องวางกำลังใจให้ถูกครับ เพราะกฎแห่งกรรมมีจริงครับ ผมเชื่อว่า ไม่จำเป็นต้องปล่อยในเขตอภัยทานอย่างเดียวครับ ปล่อยที่ไหนก็ได้ที่เราคิดว่าเหมาะสม และปลาจะมีชีวิตอย่างมีความสุขครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------
แนะนำ พุทธมณฑล ค่ะ ถ้าคนมีรถก็ขับไปไม่ไกลนะ ถ้าไม่มีรถ ก็นั่งรถตู้พาต้า-หมู่บ้านสินสมบูรณ์ จอดอยู่ตรง 7-11 (ที่เมื่อก่อนเป็น KFC อะค่ะ) รถตู้จะเข้าเส้นสายสี่ นั่งไปลงหน้าพุทธมณฑลเลยค่ะ ตอนกลับก็รอรถตู่หน้าพุทธมณฑล หรือไม่ก็ขึ้นรถเมล์สาย 170 ก็ได้ มาแถวปิ่นเกล้า รถเมล์สายอื่นก็มีค่ะ
ข้างในพุทธมณฑลมีเขตอภัยทาน มีหลายบ่อ หลายสระ หลายแบบ หรือจะปล่อยข้างหน้าพุทธมณฑลก็ได้ค่ะ แต่ไม่แน่ใจว่าข้างหน้าอะ เขตอภัยทานรึเปล่านะ
บางวัดก็จะห้ามปล่อยปลาบางชนิดด้วยนะคะ เช่น วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี จะห้ามปล่อยปลาดุก แต่ก็ยังมีคนแอบเอามาปล่อยเรื่อยๆ เหตุผลคือ ปลาดุกเป็นปลาที่ชอบขุดรูตามตลิ่ง จะทำให้ตลิ่งพัง หรือดินรอบบ่อจะทรุดตัวง่าย
ถ้าใครสะดวกก็ไปปล่อยที่ ท่าน้ำนนท์ ก็ได้ เพราะเขาประกาศห้ามตกปลาหรือห้ามจับสัตว์น้ำด้วยค่ะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)