วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ลักษณะของปลาปล่อยชนิดต่างๆ

อ่านรายละเอียดแบบเต็มได้ที่  http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2010/12/Y10045266/Y10045266.html

การปล่อยปลาไหลและกบ
ธรรมชาติ ของปลาไหลจะอยู่ตามคูคลอง หนอง บึง ที่เป็นดินขุดรูเป็นที่อยู่ กบก็ต้องขุดรูอยู่ตามท้องนา ผู้ที่ต้องการสร้างกุศลโดยการปล่อยสัตว์นั้น ควรจะได้พิจารณาด้วยว่า สัตว์นั้น ๆ จะมีชีวิตรอดอยู่ได้หรือไม่ในสถานที่ที่ตั้งใจจะนำไปปล่อย

การปล่อยเต่า
บางคนนิยมปล่อยเต่า ขอบอกให้รู้ว่าเต่านั้นไม่สามารถจะอยู่ได้ในน้ำไหลและมีคลื่นแรง ข้าพเจ้า(ผู้เขียน) ได้เห็นเป็นประจำ มีผู้นำเต่ามาปล่อยในแม่น้ำหน้าวัด (วัดระฆังฯ) จะมีเด็กที่อยู่ใกล้วัดเดินตามมา เมื่อผู้นั้นปล่อยเต่าลงแม่น้ำแล้ว หันหลังกลับไปสักพักใหญ่ เด็ก ๆ เหล่านั้นก็ลงไปจับเต่าที่ผู้ใจบุญได้ปล่อยไปเมื่อครู่ใหญ่นั้นเอง กลับขึ้นมาอีกธรรมชาติของเต่าจะต้องอยู่ในน้ำนิ่งและมีที่แห้งให้เขาสามารถ ขึ้นมาพักผ่อนได้ (ลองไปเที่ยวดูได้ในเขาดิน) เต่าเมื่อถูกกระแสน้ำและคลื่นแรงก็อยากจะขึ้นบก จึงมาลอยคอกันอยู่ริมเขื่อน เด็ก ๆ รู้เรื่องนี้ดี ก็มาคอยจับกัน

เต่านา (เต่าสามสัน) สัตว์เลื้อยคลาน
มี ขนาดเล็ก กระดองสีน้ำตาลอ่อน หัวดำมีลายสีขาวเป็นเส้นใหญ่ มีลายสีขาวที่แก้ม ลายเส้นขาวใหญ่นี้เป็นจุดเด่นของเต่าชนิดนี้ และขามีสีเทาดำ เป็นเต่าที่ไม่ชอบกินพืชผัก แต่ชอบกินหอย ปู กุ้ง แมลงต่างๆ  และปลาเล็กๆ เป็นเต่าขี้ตื่นกลัว ไม่ชอบคน ถ้าเห็นคนจะหยุดนิ่งไม่กระดุกกระดิก หดหัวอยู่ในกระดอง มักพบอาศัยอยู่ตามท้องนา และแม่น้ำลำคลองที่มีโคลนตม หรืออยู่ตามห้วยหนองบึงทั่วไป ลำบากแน่! หากเขาอยู่ในที่ที่มีน้ำลึก ตลิ่งสูง

เต่าหับ สัตว์เลื้อยคลาน
เป็นเต่าที่กระดองล่างแบ่ง กลางออกเป็นสองส่วน ปิดได้ทั้งด้านหน้าและหลัง เป็นเต่าชนิดเดียวที่เก็บหัวหาง แขนขา ไว้ในกระดองได้หมด เมื่อมองจากด้านท้องจะไม่เห็นส่วนอื่นใดยื่นออกมา พบมากแถวภาคกลางและภาคใต้ เต่าหับกินพืช ผัก ผลไม้ ปลา หอย ปู กุ้ง ชอบอาศัยอยู่บนบกมากกว่าอยู่ในน้ำ ชอบหมกตัวอยู่ตามกอหญ้า ผสมพันธุ์ในน้ำ แต่วางไข่บนบก ปีหนึ่งวางไข่หลายครั้ง ทว่าวางไข่ครั้งละ 2-3 ฟองเท่านั้น เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

เต่าดำ (เต่าแก้มขาว) สัตว์เลื้อยคลาน  เป็นเต่าขนาดเล็ก ตัวแบน กระดองดำ หัว หาง และขาดำ มีแต้มขาวเหนือตา แก้ม และตามใบหน้าอีกหลายแห่ง ชอบกินกินหอย กุ้ง ผัก และเมล็ดพืชเป็นอาหาร ชอบกบดานหรือหากินตามพื้นดินโคลนใต้น้ำ นาน ๆ จึงโผล่ขึ้นมาสักครั้ง ดังนั้นเวลาพบจึงเห็นตัวสกปรกเลอะโคลนอยู่เสมอ จะขึ้นบกเวลากลางคืน เพื่อต้องการหาทำเลวางไข่ หรือผสมพันธุ์ หรือย้ายที่ทำมาหากิน ส่วนกลางวันมักหมกตัวอยู่ในที่รก ชื้นแฉะ หรือตามโคลนใต้พื้นน้ำ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

ปลานิล
ปลานิลมีนิสัยชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง และทะเลสาบ เป็นปลาที่อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย มีความอดทน และสามารถปรับปรุงตัวให้เข้ากับธรรมชาติได้ง่าย เหมาะสมที่จะนำมาเลี้ยงในบ่อได้เป็นอย่างดี เป็นปลาที่กินอาหารได้ทุกชนิด โดยเฉพาะพวกอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อ เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์เล็ก ๆ ควรอยู่ในระดับของน้ำควรลึกประมาณ1 เมตร ไม่ควรมีวัชพืช เช่น ผักตบชวา จอก บัว และหญ้าต่าง ๆ เพราะวัชพืชเหล่านี้จะปกคลุมผิวน้ำเป็นอุปสรรคต่อการ หมุนเวียนของอากาศ ซ้ำยังจะเป็นที่หลบซ่อนอยู่อาศัยของศัตรูที่เป็นอันต รายต่อปลานิล ถ้ามีขนาดเล็กเกินไปจะกลายเป็นอาหารของปลาใหญ่

ปลาสวาย
เป็นปลา น้ำจืดที่ไม่มีเกล็ด ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ลักษณะลำตัวยาว มีสันหลังค่อนข้างตรง ส่วนหน้าจะลาดไปถึงบริเวณปาก หน้าทู่ปากกว้างมีหนวด 2 คู่ ลำตัวมีสีนวลขาว ปลาสวายขนาดเล็กจะมีแถบสีดำคาดลำตัว พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงนครสวรรค์ และแม่น้ำโขง ชอบกินพันธุ์ไม้น้ำ ลูกหอย หนอน ไส้เดือน รักสงบ ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงในที่ร่มใกล้พันธุ์ไม้น้ำ เลี้ยงง่าย โตเร็ว แต่ถ้ามีขนาดเล็กเกินไปจะกลายเป็นอาหารของปลาใหญ่

ปลาหมอไทย
รูปร่างป้อม ลำตัวด้านข้างแบน หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ นัยน์ตาค่อนข้างเล็กอยู่ใกล้กับปลายจมูก กระดูกขอบกระพุ้งเหงือกหยักเป็นฟันเลื่อยแหลมและแข็ง ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า เหงือกปลาหมอ อวัยวะส่วนนี้ใช้สำหรับการเคลื่อนไหวไปบนบก ครีบหลังยาว ลำตัวมีสีน้ำตาลปนเหลือง ด้านท้องสีจะจางกว่า มีอวัยวะช่วยหายใจในปากทำใหัสามารถอยู่บนบกได้นานๆ พบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ชอบกินลูกปลา ลูกกุ้ง แมลง และซากสัตว์ แต่ถ้ามีขนาดเล็กเกินไปจะกลายเป็นอาหารของปลาใหญ่

ปลาไหลนา
ปลาไหลนาสามารถเจริญเติบโตได้ดีใน แหล่งน้ำทั่วไป ฤดูแล้งจะขุดรูดิน ออกหากินในเวลากลางคืน เป็นปลาที่สามารถ เปลี่ยนเพศได้ โดยช่วงแรกจะเป็นเพศเมีย และจะกลายเป็นเพศผู้เมื่อโตขึ้น จัดเป็นพวกปลากินเนื้อ (carnivorous) กินอาหารที่มีสภาพสดจนถึงเน่าเปื่อย ตัวหนอน ตัวอ่อนแมลง หอย ไส้เดือน และสัตว์หน้าดินต่าง ๆ มีนิสัยรวมกลุ่มกันกินอาหาร ควรระมัดระวังในเรื่องการลำเลียง ไม่ควรให้หนาแน่นมากเกินไปปลาจะบอบช้ำ ถ้ามีขนาดต่างกันมากเกินไปจะกินกันเอง ชอบอยู่ในที่ร่มมากกว่ากลางแดด ปัจจุบันปลาไหลที่ขายอยู่ทั่วไปมาจากเขมร พม่า ซึ่งกำลังส่งผลในเรื่องการรุกล้ำสายพันธุ์

ปลาไน
อาศัยอยู่ตาม แม่น้ำ ลำคลอง ที่มีพื้นเป็นดินโคลน กระแสน้ำไหลอ่อนเกือบจะนิ่ง ชอบอยู่ในน้ำอุ่นมากกว่าในน้ำเย็น ชอบน้ำสะอาดแต่ไม่ใสหรือขุ่นจนเกินไป ชอบวางไข่ในที่ตื้น ถ้าอยู่ในสภาพแออัดเกินไปจะทไห้อ่อนเพลียไม่กินอาหาร ตื่นตกใจง่ายอาจถึงตายได้ ศัตรูของปลาไน ได้แก่ ปลาจำพวกที่กินเนื้อเป็นอาหาร เช่น ปลาชะโด ปลาช่อน ปลาบู่ ปลาเทโพ พวกกบ เขียด เต่า ตะพาบน้ำ :-) นาก และนก เนื่องจากปลาไนเป็นปลาที่มีนิสัยขลาด ตื่นตกใจง่าย หากจับปลาออกจากบ่อเลี้ยงแล้วรีบลำเลียงไปส่งตลาด ปลาอาจตกใจตายได้ง่าย
อาหาร
- เศษผัก ผักบุ้ง ผักกาดขาว และเศษผักต่าง ๆ ใช้ต้มให้เปื่อยผสมกับรำหรือปลายข้าว
- กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง
- ส่วนอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ หรือสัตว์ที่มีชีวิต เช่น ตัวไหม ปลวก ไส้เดือน หนอน มด ฯลฯ ใช้โปรยให้กิน พวกเครื่องในและเลือดของพวกสัตว์ต่างๆ เช่น หมู วัว ควาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น